ปณิธาน
เป็นแหล่งค้นคว้า วิจัย และถ่ายทอดความรู้ตามหลักแห่งเสรีภาพทางวิชาการ โดยยึดมั่นในสัจธรรม
และคุณธรรม เพื่อเป็นเลิศทางวิชาการ การประยุกต์ เผยแพร่วิทยาการและเทคโนโลยี ศึกษา ค้นคว้า
วิจัยพัฒนา ถ่ายทอดและบริการวิชาการ พัฒนาบัณฑิตให้มีทักษะทางวิชาชีพ คุณธรรมและความเป็น
เลิศทางวิชาการ เพื่อพัฒนาและบูรณาการเกษตรและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของ
ประเทศ

 
  สัญลักษณ์
กรอบเถาวัลย์พรรณไม้ คือ ความสอดคล้องต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดี
ต้นไม้ คือ จรรโลงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ
ภูเขา คือ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
พลายไชยานุภาพ คือ ดำเนินการภายใต้ปณิธานแห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร
ผัก ผลไม้และปลา คือ ผลผลิตที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ มั่งคั่งและยั่งยืน
เกราะนักรบ คือ คุณธรรม จรรยาบรรณ ความกล้าหาญของประชาชนและ
สำนึกด้านสิ่งแวดล้อม
 
 
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นแหล่งส่งเสริม สนับสนุนและเป็นศูนย์กลางการวิจัยด้าการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
ของเครือข่าย เพื่อแก้ปัญหาของสังคม
2. เพื่อทำหน้าที่ประสานงานการวิจัยและพัฒนาทางวิชาการด้านกรเกษตรและสิ่งแวดล้อมระหว่าง
คณาจารย์ บุคลากรและนิสิตของมหาวิทยาลัยนเรศวรกับองค์กรหน่วยงานต่างๆและประชาชน
3. เพื่อสร้างฐานข้อมูลในการศึกษาวิจัยด้านการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. เพื่อเป็นศูนย์กลางบริการวิชาการ ผลิตผลงานวิชาการบูรณาการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

เป้าหมาย
เพื่อสร้างสังคมที่ดีงามด้วยความรู้และคุณธรรม

ความเป็นมา
การศึกษาวิจัยมีความสำคัญและมีบทบาทต่อการพัฒนาประเทศในฐานะเป็นเครื่องมือที่มีส่วนช่วยเข้าไป
แก้ไขปัญหาทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ผลของการวิจัยยังสามารถชี้นำและเป็นที่พึ่งพาของสังคม
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร (พ.ศ. 2538-2547) ได้เห็นความสำคัญจึงได้กำหนด
เป็นนโยบายทางวิชาการเพื่อสนับสนุนให้คณาจารย์ได้มีหน่วยวิจัยย่อย (Research Unit) อยู่ในคณะ
ต่างๆของมหาวิทยาลัยเพื่อให้สามารถสร้างผลงานวิจัยโดยการใช้ห้องปฏิบัติการและปฏิบัติงานได้
อย่างสะดวกมีความคล่องตัว อันเป็นแนวทางหนึ่งที่จะส่งเสริมให้บัณฑิตทั้งในระดับปริญญาตรีและ
ระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยให้มีความเชี่ยวชาญเชิงทักษะทั้งในระดับต้น (Primary Skills)
จากการศึกษาค้นคว้าในห้องปฏิบัติการ ระดับกลาง (Secondary Skills) จากการศึกษาด้วยตนเอง
(Self Learning) และระดับสูง (Professional Skills) จากการฝึกงาน ฝึกสอนและการปฏิบัติ
(Internship) โดยมุ่งหวังพัฒนาทัศนคติที่พึงประสงค์ (Attitude) สู่ความเป็นเลิศและดีงาม (Wise &
Wisdom) ที่เป็นผลประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม
คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทในการศึกษา
พัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบหลักในภาค
เหนือตอนล่าง และจัดให้มีหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์
การเกษตร วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และสาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จึงได้มีการจัดหลักสูตรเพื่อให้ผู้เรียนได้รับทักษะ 3 ระดับข้างต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณาจารย์และนิสิตจึงได้รวมตัวทำการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมขึ้น ในปี 2538
โดย ศ.ดร.สิริวัฒน์ วงศ์สิริ รศ.ไพฑูรย์ กิจเภาสงค์ ผศ.สุระพล ภานุไพศาล ผศ.ดร.ศิรินทร์ทิพย์
แทนธานี นายสว่าง ปิยาภิชาต และ รศ.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ และในปี 2540 ได้รับการจัดตั้งภาย
ใต้ชื่อว่า หน่วยวิจัยและพัฒนาบูรณาการเกษตรและสิ่งแวดล้อม (Agriculture and Environmental
Integration Research and Development Unit) โดยมีรูปแบบของการทำงานเป็นเครือข่าย
(Network) ที่มีศูนย์กลางทำหน้าที่ประสานงานสนับสนุนงานวิจัย ในการจัดหางบประมาณ เครื่องมือ
และประสานงานระหว่างนิสิตกับคณาจารย์ที่สนใจทำวิจัยทั้งทางด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม โดย
ลดขั้นตอนและการปฏิบัติงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับสาระของการวิจัยแก่คณาจารย์และผู้ร่วมวิจัยที่เข้า
ร่วมกับหน่วยวิจัยนั้น อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวของการทำงานวิจัยที่สำคัญ
ประการหนึ่ง
 

"การเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ที่ดีนั้น จักต้องมีหัวใจแห่งการ
เพาะบ่มนิสิตที่มีรูปแบบหลากหลายและยืดหยุ่น ที่มิใช่เฉพาะการ
ดูแลด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว การทำวิจัยนั้นว่ายาก แต่การดูแล
ส่งเสริมให้นิสิตมีความสมบูรณ์พร้อมที่เป็นของตนเอง พัฒนาอย่าง
ต่อเนื่องได้เพื่อการส่งต่อให้สังคม เป็นผู้เชี่ยวชาญขั้นสูงต่อไปนั้น
เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ"
Copyright 2009, AEI R&D Unit, All rights reserved.
Tel/Fax: 055-962822 c/o AG2101
Webmaster AEI: piyamatt@nu.ac.th, piyamat_thamee@hotmail.com