โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 วันที่ 16-18 พฤษภาคม 2555
ณ ห้อง Main Conference สถานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร
 

ความเป็นมาของโครงการ
ารวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือในการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ ทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมต่อ
สังคมและประชาชนทั่วไป การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยเริ่มต้นเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวด
ล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2518 และโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2524 ได้มีการประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ
การพลังงาน กำหนดประเภทและขนาดของโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม 10 ประเภท ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้มี
การตราพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และมีการออกประกาศกำหนดให้โครงการพัฒนารวม 22 ประเภท
ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการออกประกาศกำหนดให้โครงการ 34 ประเภทต้องจัดทำรายงาน
การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลให้มีการใช้การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งในการป้องกันผลกระทบ
สิ่งแวดล้อมกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
ากประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเรื่องกำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ฉบับลงวันที่ 16 มิถุนายน
2552 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2552 ซึ่งในประกาศกระทรวงฯ กำหนดให้โครงการหรือกิจการ 34 ประเภท ต้องจัดทำ
รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมีเอกสารท้ายประกาศได้กำหนดให้การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต้องดำเนินการ
ตามแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และประกาศกระทรวงฯ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
ระเบียบปฏิบัติและแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่าง
รุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ซึ่งตามมาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 กำหนด
ให้การดำเนินโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพจะ
กระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความ
คิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน
หาวิทยาลัยนเรศวรเล็งเห็นความสำคัญของการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาวะของประชาชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาใดใด
ในพื้นที่ จึงจัดให้มีการอบรมการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สังคมและสุขภาพ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศง 2535 ซึ่งมีการปรับปรุงเอกสารในประกาศกระทรวงที่ครอบคลุมกิจกรรม และมีแนวทางปฏิบัติที่มากขึ้น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาค
ประชาชนจึงควรมีความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการมีส่วนร่วม ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าว อันจะนำมาสู่คุรภาพชีวิต คุณภาพสิ่งแวดล้อม
ที่ดีและการพัฒนาที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข
ประเภทของโครงการ
โครงการบริการวิชาการแก่สังคมที่เน้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข๋งของชุมชน ภาคเอกชน ภาครัฐ และหน่วยงานวิชาชีพ ผ่านองค์
ความรู้ที่ใช้ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหา ได้แก่
1. การประเมิรนผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA)
2. การประเมินผลกระทบทางสังคม (Social Impact Assessment: SIA)
3. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA)

เอกสารประกอบการฝึกอบรม
(PAPER, PRESENTATION AND PHOTO ACTIVITIES)

วันที่ 16 พฤษภาคม 2555
(1) กฎหมายและข้อกำหนดของการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดย ดร.อารี สุวรรณมณี (ดาวโหลด 1)
(2) ระบบการจัดการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดย รศ.ดร.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ (ดาวโหลด 2.1 ดาวโหลด 2.2)
(3) รายละเอียดโครงการและการประเมินผลกระทบด้านกายภาพ โดย นายพุฒิพงศ์ วรสุมันต์ (ดาวโหลด 3)
(4) การประเมินผลกระทบด้านชีวภาพ โดย รศ.ดร.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ และ น.ส.กมลภรณ์ บุญถาวร (ดาวโหลด 4)
(5) การประเมินผลกระทบด้านการใช้ประโยชน์ของมนุษย์และการประเมินคุณค่าต่อคุณภาพชีวิต โดย น.ส.พรนภา สุตะวงค์
(ดาวโหลด 5) (ดาวโหลด 6)
(6) การฝึกปฏิบัติการ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (กรณีศึกษา) และการเขียนรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

วันที่ 17 พฤษภาคม 2555
(1) ความจำเป็นของการประเมินผลกระทบทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบ: สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สังคม
โดย ดร.อารี สุวรรณมณี (ดาวโหลด 7)
(2) หลักการและบริบทของการเป็นนักประเมินผลกระทบทางสังคม โดย รศ.ดร.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ (ดาวโหลด 8)
(3) ขั้นตอนในการประเมินผลกระทบทางสังคมและวิเคราะห์/การสร้างเครื่องมือและตัวแปรในการเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล
โดย รศ.ดร.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ
(4) รัฐธรรมนูญกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของสาธารณชน โดย ดร.ถนอมศักดิ์ บุญภักดี (ดาวโหลด 9)
(5) การประเมินผลกระทบและการกำหนดมาตรการลดผลกระทบทางสังคม เวทีเสวนาแลกเปลี่ยน: ความต้องการที่แท้จริงของ
ประชาชนต่อกรณีศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม โครงการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น/ โครงการระบบบำบัดน้ำเสีย
คลองด่าน จ.สมุทรปราการ

วันที่ 18 พฤษภาคม 2555
(1) การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ: เครื่องมือที่สนับสนุนการตัดสินใจในกระบวนการพัฒนา (Overview HIA) โดย ผศ.นพ.ดร.วิโรจน์
วรรณภิระ และ รศ.ดร.เดช วัฒนชัยยิ่งเจริญ (ดาวโหลด 10)
(2) กระบวนการและขั้นตอนการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ: ขั้นตอนการคัดกรอง (Screening) และการกำหนดของเขต (Scoping)
โดย ผศ.นพ.ดร.วิโรจน์ วรรณภิระ (ดาวโหลด 11)
(3) เครื่องมือการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ: การใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพและระบาด
วิทยา โดย ผศ.นพ.ดร.วิโรจน์ วรรณภิระ (ดาวโหลด 12)
(4) แนวทางและการสนับสนุนการดำเนินงานด้านการดูแลสุขภาพ: การแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนา
โดย ผศ.นพ.ดร.วิโรจน์ วรรณภิระ (ดาวโหลด 13) (ดาวโหลด 14)
(5) อภิปรายและฝึกปฏิบัติการ: กรณีศึกษา การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษาโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยพะเยา และ
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
(6) Take Home Paper


เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง